วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

การเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ PC ตั้งโต๊ะ

สวัสดีค่ะ วันนี้เหมี่ยวจะทดลองสรรหาวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบคอมพิวเตอร์ PC ตั้งโต๊ะ นะคะ โดยการเลือกอุปกรณ์สักชิ้นนั้นนะคะ ก่อนอื่นเราต้องคำนึงถึง งบประมาณของเรา ว่าเรามีงบสูงสุดมากน้อยเพียงใดนะคะ และคำนึงถึงประโยชน์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆนะคะ วันนี้ เหมี่ยวจะมาลองอุปกรณ์ ในงบประมาณ 17,000 บาท นะคะ ไปดูกันเลย ว่า จะได้อุปกรณ์น่าตาเป็นอย่างไรกันบ้างนะคะ



ที่ดูไว้ก็จะได้ ชิ้นส่วนประมาณนี้นะคะ


อุปกรณ์คร่าวๆก็จะมีประมาณนี้นะคะ
โดย CPU ที่เหมี่ยวได้เลือกนั้นนะคะก็จะเป็น ตัว NTEL Core i3-4170 3.7 GHz ตัวนี้จะเห็นว่า เป็นซีพียูตัวกลางๆ ที่ถ้าเราใช้งานแค่งานเอกสารหรืองานออกแบบเล็กๆน้อยๆหละก็ สเปกเท่านี้ก็เหลือเฟือแล้วหละค่ะ
รายละเอียดของเจ้าตัว NTEL Core i3-4170 3.7 GHz ก็จะดูได้จากตารางนี้เลยนะคะ
 
ต่อมาจะเป็น การเลือก Motherboard ตัวนี้เหมี่ยวขอใช้เป็เจ้าตัว H97M-E ของค่าย ASUS นะคะ เพราะว่ามีสเปกที่โอเค และราคาก็น่าคุยเลยล่ะค่ะ ถ้าเทียบกับค่ายอื่นที่สเปกเท่ากัน จะเห็นว่าค่ายอื่นนั้นราคาจะสูงกว่านะคะ สเปกคร่าวๆดังตารางด้านล่างเลยค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

กระบวนการประสานงานของคอมพิวเตอร์

สวัสดีค่ะ อยู่กับเหมี่ยวอีกแล้วนะคะ วันนี้จะมาบอกถึงกระบวนการประสานงานกันของคอมพิวเตอร์กันนะคะ เพราะว่าเราก็อาจจะรู้จักอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์กันไปพอสมควรแล้วอะนะคะ แต่ยังไม่รู้เลยว่าจริงๆแล้วอุปกรณ์เหล่านั้นมันทำงานกันอย่างไรบ้าง และมันประสานงานกันในรูปแบบไหนบ้างนะคะ เราก็จะมารู้จักกันในรีวิวนี้นะ เอาล่ะมาดูกันว่า ส่วนประกอบต่างๆ ทำงานกันอย่างไร ตั้งแต่ เปิดเครื่อง ไปจนถึง บูธเสร็จเรียบร้อย ถึงได้ผสานพลังช่วยให้ PC กลายเป็นเครื่องมือ อันทรงประสิทธิภาพ ไปกันเลยค่ะ

     1. คอมพิวเตอร์ PC เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงทำงาน ข้อมูลภายในเป็นข้อมูลดิจิตอล เช่น 01100111000….. โดยตัวเลขแทนข้อมูลด้วยแรงดันไฟฟ้า ข้อมูลเหล่านี้เป็นคำสั่งและข้อมูลให้แก่โปรแกรมต่างๆเมื่อเรากดปุ่มเปิดเครื่อง ทั้งบนตัวเครื่อง PC และจอภาพ นั่นหมายความว่า เรากำลัง ปล่อยให้กำลังไฟฟ้า ไหลผ่านเข้าสู่ระบบ และเริ่มต้น การทำงานของ PC ของเรา

     2. เริ่มเปิดเครื่องไฟฟ้าวิ่งเข้าไปใน Power Supply ผ่านไปบนเมนบอร์ด
CPU เริ่มทำงานที่ตำแหน่งของ BIOSBIOS เริ่มทำงาน ทำการตรวจสอบฮาร์ดแวร์พื้นฐานต่างๆ VGA, RAM, H.D., F.D., ค่า Config ใน CMOS ค้นหา Bootstrap Program ใน Master Boot Record
โหลดข้อมูลจาก Master Boot Record เพื่อโหลด O.S. 
เมื่อ O.S. เริ่มทำงาน จะปรากฎที่หน้าจอ ซึ่งจะเห็นซอฟต์แวร์ BIOS กำลัง Run โปรแกรมต่างๆเริ่มต้น ตั้งแต่ช่วงของ การทดสอบแรกเริ่ม ที่เรียกว่า power-on self-test ( POST ) ซึ่งโดยปกติแล้ว เราจะเห็นตัว BIOS แสดงรายละเอียด เกี่ยวกับ ขนาดของ Memory, ความเร็ว CPU หรือขนาดของฮาร์ดดิสก์ ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ จากนั้น ในระหว่างที่บูธเครื่องนี้ ตัว BIOS ก็จะเตรียมการทำงาน และชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่อง ให้พร้อมรับการทำงาน ดังนี้ 
        BIOS เป็น Chip ตัวหนึ่งที่อยู่บน Mainboardหน้าที่ของมันได้แก่ จะเป็นผู้ตัดสินใจว่า Video Card ทำงานอย่างไร ในขั้นตอนแรก เพื่อให้สามารถ แสดงผลได้ เมื่อแรกเปิดเครื่อง ซึ่งตามปกติแล้ว ที่ตัว Video Card ( หรือ Graphic Card ) ก็จะมี BIOS ของมันเพื่อควบคุม การทำงานของ Graphic Processor และ หน่วยความจำ ที่ติดตั้ง อยู่บน Card ด้วย แต่ถ้าเป็นการ์ดแบบที่รวมอยู่บน Chipset ก็จะอาศัยข้อมูล ที่อยู่ใน ROM เพื่อทำการตั้งค่า BIOS 
       ตัว BIOS จะทำการตรวจสอบ การทำงานของ RAM ตั้งแต่ ขนาด ความเร็ว และประสิทธิภาพ จากนั้น ก็จะตรวจหา ตัว Input / Output, Drive Cd, Harddisk, Floppy Disk ซึ่งหากพบปัญหาเกิดขึ้น มันจะมีเสียงสัญญาณดัง และแสดงปัญหา ขึ้นมา ที่หน้าจอของคุณ
        เมื่อเตรียมพร้อม และทดสอบ อุปกรณ์ต่างๆ ว่าพร้อมทำงานเรียบร้อยแล้ว ตัว BIOS จะเตรียมระบบ เข้าสู่ bootstrap loader เพื่อเตรียมพร้อม ระบบปฏิบัติการ ให้ทำงานต่อไป


      3. The bootstrap loader จะทำการโหลดข้อมูล ของระบบปฏิบัติการ มาไว้บน RAM เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับ ประมวลผล โดย CPU จากนั้น จะเข้าสู่ ขั้นตอน การเตรียมเครื่อง มือการทำงานต่างๆ ให้พร้อมตั้งแต่ 
             • Processor management - เป็นตัวควบคุม จัดการ การทำงานของ CPU 
             • Memory management - เป็นการจัดการ ระบบไหลเวียนข้อมูล ระหว่างหน่วยความจำหลัก, หน่วยความจำเสมือนกับฮาร์ดดิสก์ และ หน่วยความจำ Cache บน CPU 
             • Device management - เตรียมพร้อม การต่อเชื่อมต่างๆ ให้พร้อมสำหรับ การทำงาน ตั้งแต่ Printer, Scanner หรืออุปกรณ์ ต่อพ่วงอื่นๆ 
             • Storage management - เตรียมการทำงาน ของฮาร์ดดิสก์ ให้พร้อมรับ สำหรับการเขียนอ่านข้อมูล 
             • Application Interface - เตรียมพร้อม ให้ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมต่างๆ สามารถสื่อสารร่วมกันได้ 
             • User Interface - เตรียม Interface ของระบบปฏิบัติการ ให้พร้อมสำหรับการใช้งาน

การบูท
    เมื่อรันการทำงานของโปรแกรม Setup แล้ว ก็จะเข้าสู่การบูท (Bootstrap) โดยจะมีหลักการดังนี้
1. อ่านโปรแกรมที่ Sector แรกของสื่อ (Disk) (Boot Sector) เข้ามาไว้ใน RAM แล้วให้ CPU ทำงาน
2. โปรแกรมใน Boot Sector เรียกว่า Master Boot Record จะทำการบอกตำแหน่งของ OS. ในดิสก์ที่จะโหลดเข้ามาใน RAM แล้วเริ่มทำงาน

หลังจากนี้ก็จะเป็นการทำงานของ O.S. ส่วนโปรแกรมหรือ OS สามารถเรียกใช้งาน BIOS ได้จาก Interrupt Vector และ BIOS Program


ประเภทของการบู๊ตเครื่อง 
  คอมพิวเตอร์จะทำการโหลดระบบปฏิบัติการเข้าไปไว้ในหน่วยความจำ RAM ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกันคือ

โคลด์บู๊ต ( Cold boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง ( Power On ) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องนี้จะอยู่บนตัวเคสของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิทช์ของ อุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป

วอร์มบู๊ต ( Warm boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง ( restart ) โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบู๊ตเครื่องกันใหม่ สามารถทำได้สามวิธีคือ
                  - กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง (ถ้ามี)
                  - กดปุ่ม Ctrl + Alt + Delete จากแป้นพิมพ์ แล้วเลือกคำสั่ง restart จากระบบปฏิบัติการที่ใช้
                  - สั่งรีสตาร์ทเครื่องจากเมนูบนระบบปฏิบัติการ

ค่ะและนี่คือทั้งหมดของประสานงานกันของอุปกรณ์ภายในของคอมพิวเตอร์นะคะ หากผิดพลาดยังไงก็สามารถคอมเม้นเพื่อเป็นความรู้เพิ่มแต่แก่เหมี่ยวและผู้เข้าเยี่ยมชมบล็อกด้วยนะคะ วันนี้พอแค่นี้ก่อน ขอบคุณค่ะ

ทดสอบการออนเครื่องนอกเคส

สวัสดีค่ะ วันนี้เหมี่ยวจะมาทำการรีวิว คอมพิวเตอร์ และสาธิตการออนเครื่องนอกเคสให้ไดชมกันนะคะ ซึ่งขอบอกก่อนว่าข้อดีของการออนเครื่องนอกเคสนั้นนะคะ ก็เอาไว้ใช้ตอนที่เราลืมซื้อเคสมานั่นเอง ฮ่าา ไม่ใช่ ใครจะลืมหละ เอาไว้ใช้เวลาที่เราต้องซ่อมเสร็จละทดสอบเครื่อง โดยไม่ต้องประกอบให้ยุ่งยากอ่ะนะคะ เราไปดูกันเลยว่า การออนเครื่องนอกเคสนั้นจะยากง่ายอย่างไรนะคะ ไปเลยๆ

ปล. ก่อนเปิด ลงเสียงลงนิดนึง


ค่ะจากวิดีโอนั้นจะเห็นนะคะการออนเครื่องนั้นเป็นไปได้อย่างง่ายดายนะคะ เราเพียงแค่ต้องจำให้ได้ว่า สายไหนต่อกับอะไร เป็นต้นนะคะ สำหรับใครที่ดูแล้วยัง งงๆ ก็เปิดดูซ้ำๆได้นะคะ 
วันนี้ไปแล้ว สวัสดีฮ๊าฟฟ

สวัสดีค่ะ วันนี้เหมี่ยวมีสินค้ามานำเสนอ อิอิ ไม่ใช่ละ คือวันนี้เหมี่ยวจะมารีวิว โน๊ตบุ๊คของเหมี่ยวเองนะคะ คือ เจ้า ASUS K45DR นั่นเอง เจ้าโน๊ตบุคตัวนี้บอกเลยว่าราคาย่อมเยา และสเปกก็ใช้ได้เลยทีเดียว หลักการในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคของแต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกันใช่มั้ยหละคะ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน รองลงมาก็คงจะเป็นราคา เหมี่ยวก็เป็นอีกคนนึงที่มองหาโน๊ตบุคสักเครื่อง ไว้ใช้งานประมาณนึงและราคาต้องถูกด้วย ตอนซื้อก็ไม่ได้ค้นข้อมูลอะไรมาเลย มาเลือกเอาที่ร้านเลย ก็เลยมาเจอเจ้าตัวนี้ ราคาก็โอเคนะ สมัยนั้น (ประมาณ 4 ปีที่แล้ว) สนนราคาอยู่ที่ 15,000 บาทนะคะ ดูสเปกละก็โอเคเลย แต่ติดแค่ที่เป็น AMD แต่ก็ไม่เป็นไร สมัยนั้น AMD A8 นี่ตัวท็อป ก็เลยยอมๆไป  พูดไปก็ไม่เห็นภาพ งั้นเราไปดูกันดีกว่าว่า เจ้า ASUS K45DR นี่เค้าคุ้มยังไง

ก่อนอื่น เรารู้จักกับส่วนประกอบคร่าวๆของเจ้า ASUS K45DR  นี้ก่อน

สำหรับ เจ้า ASUS K45DR 14 inch WXGA (1366x768) LED
ใช้พลังประมวลผลจาก CPU AMD A8-4500M 1.90 GHz. Turbo Boost สูงสุดที่ 2.80 GHz.



การ์ดจอของเจ้าASUS K45DR จะเป็นแบบ Duo Graphics AMD Radeon HD 7640G + AMD Radeon HD 7470M - 1GB GDDR3 พร้อม HDD 750 GB และRAM 4 GB DDR3 1600Mhz. 




วัดประสิทธิภาพของวินโด
คะแนน  ซีพียู  6.7  
          เมมโมรี่  5.9
          กราฟฟิก วินโดว์   4.7
          กราฟฟิก เกมส์  5.9
          ฮาร์ดดิสก์  5.9 
คะแนนซีพียูก็ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียวนะคะ กับคะแนน 6.7 แต่คะแนนกราฟฟิกของวินโดว์ ออกจะต่ำไปนิด แค่ 4.7 แต่ก็ไม่ถือว่าน่าเกลียดอะไรเนาะ ส่วนคะแนนกราฟฟิกเกมส์3มิติได้ 5.9 ก็โอเคเลยนะ 

คะแนนในการถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์โอ ถือว่าโอเคเลย เอาเป็นว่ารวมๆแล้ว ก็พอใจระดับนึง

มาดูเรื่องของแบตเตอร์รี่กันบ้างนะคะ แบตเตอร์รี่ของเจ้าตัวนี้ จะมาพร้อมกับ แบตเตอร์รี่แบบ ลิเทียมไอออน ขนาด ความจุ 4,700 ซึ่งแบตเตอร์รี่นั้นก็อึดอยู่พอสมควร 


ต่อมา เรามาดูเรือนร่างภายนอกของ เจ้า ASUS K45DR นี้กันดีกว่านะคะ ว่ามีอะไรติดตัวมาบ้าง



ส่วนนี้จะเป็นคุณสมบัติคร่าวๆของ เจ้า ASUS K45DR ค่ะ


ต่อมาเรามาดูพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ

1. พอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อสายชาร์ต
2. พอร์ต RJ45 (LAN Port) พอร์ตที่เชื่อมต่อสายแลน


3. พอร์ต VGA ใช้ส่งสญญาณภาพเข้าไปแสดงในอุปกรณ์ภายนอก เช่น โปรเจกเตอร์ เป็นต้น
4. พอร์ต HDMI 
5. พอร์ต USB แบบ 3.0 ซึ่งในตัวนี้จะมีพอร์ท USB ให้มาทั้งหมดสามพอร์ต เป็น 
แบบ 3.0 สองพอร์ต และแบบ 2.0 หนึ่งพอร์ต


6. พอร์ตเสียบหูฟัง
7. พอร์ตไมโครโฟน
8. พอร์ต USB แบบ 2.0ถัดไปจะเป็น CD ROM
พอร์ตในเจ้า  ASUS K45DR  ก็จะมีประมาณนี้นะคะ

ต่อไปเรามาดูข้างในเครื่องกันดูดีกว่าว่าจะอะไรซุกอยู่ตรงไหนบ้าง ไปดูกัน
ตอนแรกเราก็จัดการถอดฝาครอบออกมา ก็จะเห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่

จากนั้นก็จัดการไขน็อตที่เห็นอยู่ออกมาให้หมด เย้ยย ไม่ใช่ ไขแค่ที่จะถอดก็พอค่ะ


นี่คือรูปร่างหน้าตาของ ฮาร์ดดิสก์ เขียวอุ่มเชียว..


และนี่ก็คือแรม 

และนี่อุปกรณ์คร่าวๆของเครื่อง แต่ไขควงนั้นไม่ใช่นะคะ 

เราก็ได้ทราบข้อมูลไปพอประมาณแล้วนะคะ เหมี่ยวจะขอพูดในเชิงการใช้งานจริงของเจ้า  ASUS K45DR  นี้บ้างนะคะ

  1. เรื่องความลื่นไหล ของเจ้า AMD A8 ถ้าตัดเรื่องอคติด อะไรออกไปเลย เหมี่ยวก็ว่ามันไม่ต่างกันเลยนะคะกับค่ายอื่น แต่จะเห็นความแตกต่างได้ชัดมากคือตอน Render วีดีโอ เคยเอามา เทียบกับ intel cor i5 ผลคือ intel กินขาดไปเลย แต่ถ้าใช้งานปกติ เปิดเว็ป ใช้งานกราฟฟิก เหมี่ยวว่าไม่ต่างกันเลย
  2. แบตเตอร์รี่ของเจ้าตัวนี้ ถือว่าอึดใช้ได้เลย
  3. ความจุของตัวนี้ถ้าใช้ปกติก็เหลือแหล่เลยค่ะ 


ข้อเสียของ  ASUS K45DR  ในมุมของเหมี่ยวคือ
       จอไม่ค่อยสู้แสง เวลาใช้งานในที่สว่างแทบมองไม่เห็นเลยค่ะ ซึ่งเราอาจแก้ไขปัญหานี้ด้วยการติดฟิล์มที่จอ แต่จะทำให้เราเสียเงินเพิ่มนิดหน่อย และฝาหลังค่อนข้างจะเป็นรอยง่ายมาก 

จบไปแล้วนะคะสำหรับการรีวิวเจ้า  ASUS K45DR ของเหมี่ยว การรีวิวอาจบอกได้ไม่หมด ใครที่สนใจรุ่นไหนอยู่ก็ควรดูหลายๆรีวิว ละเอามาประกอบในการตัดสินใจ เพราะมุมมองของแต่ละคนไม่เหมือนกัน สำหรับวันนี้ ขอบคุณที่ติดตามนะคะ เจอกันใหม่รีวิวหน้านะคะ


สำหรับใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถไปตามลิงค์นี้ได้เลยนะคะ  คลิกที่นี่